ตุงแดง สัญลักษณ์ของความตาย ความเชื่อ ของคนเหนือเรื่องลึกลับจาก ภาคเหนือ

ตุงแดง เรื่องลี้ลับของ ภาคเหนือ ที่กลายมาเป็น ความเชื่อ ที่น่าสนใจทำให้หลายคนอยากรู้ว่าจริงๆแล้วมันคืออะไรมีประวัติความเป็นมายังไงใครอยากรู้เข้ามาเลย
ตุงแดง สัญลักษณ์ของความตาย ความเชื่อ ของคนเหนือเรื่องลึกลับจาก ภาคเหนือ
“ตุง” มีคำแปลที่ใกล้เคียงว่า “ธง” ตุงของชาวภาคเหนือถูกเรียกว่า “ตุงตะขาบ” จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างนั้นกวางไม่มาก แต่จะมีความยาวมาก โดยจะมีไม้คั่นเป็นปล้อง ปลายไม้ติดเครื่องประดับตุ้งติ้ง และที่หัวตุงจะมีไว้เพื่อที่แขวน แล้วห้อยประดับปล่อยชายทอดยาวลงมาเบื้องล่าง มองดูคล้ายตัวตะขาบนั้นเอง โดยเรื่องของ ตุงแดง นั้นเป็น ความเชื่อ ที่มีมานานบางคนพูดว่าตุงแดงเป็นสัญลักษณ์ขอความตาย ส่วนความจริงจะเป็นยังไงมาอ่านได้เลยกับตุงแดงเรื่องลึกลับจาก ภาคเหนือ
คนภาคเหนือใช้ตุงมาเป็นเวลานานเพราะพบหลักฐานจากศิลาจารึกที่วัดพระยืนในจังหวัดลำพูน ช่อ คือ ธง ส่วนตงก็คือ ตุง
“ตุง” สามารถทำได้จากวัสดุหลายชนิด อาทิเช่น ผ้า ใยฝ้าย กระดาษ ไม้ โลหะ แล้วแต่การใช้งาน “ตุง” มีหลายรูปแบบที่จะสามารถใช้กัน เช่น ตุงประดับ ตุงประดับใช้ตกแต่งสถานที่ ให้เกิดความสวยงามในงานสำคัญต่างๆ ในเวลาที่ลมพัด ตัวปลายตุงจะพัดพลิ้วไปมาทำให้คนมองรู้สึกเจริญตา เจริญใจ ส่วนใน2สำคัญต่างๆ
ตุงอาจจะประดับในวัดที่มีงานบวช เวลาไปเที่ยวภาคเหนือหลายคนอาจจะเคยเห็นหากวัดไหนมีงานบุญหรืองานบวชจะมีการนำตุงไปประดับ ทางเข้าบริเวณวัด ซึ่งอาจเป็นการช่วยดึงศรัทธาให้คนรอบข้างและคนอื่นจะได้รู้จักทางไปวัดด้วย นับว่าเป็นการเชิญชวนโดยใช้ตุงเป็นเครื่องหมายบอกทาง
นอกจากนี้ยังมี ตุงซาววา ที่มีความหมายมงคล มีลักษณะยาว ไม่มีเสาที่ปัก โดยต้องใช้คนถือหลายคนนิยมให้ผู้ร่วมขบวนเดินถือชายตุงต่อๆ กัน และยังมีตุงกระด้าง โดยนิยมทำด้วยไม้แกะสลักและประดับกระจกลงรักปิดทองด้วยลวดลายดอกไม้ต่าง ๆ ลายสัตว์ต่าง ๆ แบบถาวร และมักจะทำไว้ในที่ที่มีความสำคัญในพื้นที่ต่างๆ
และ”ตุงแดง”ตุงแดง หมายถึง ตุงที่มีสีแดงสด คล้ายสีเลือด ทำมาจากผ้ามีขนาดความยาว 2 – 3 วา ตุงแดงบางผืนยาว 20 วา โดยเรามักพบเห็นตุงแดงปักตามข้างทางถนน เราเชื่อว่าหลายคนสงสัยและตั้งคำถามว่า ปักตุงแดงไว้ทำไม? โดยตุงแดงใช้ในพิธีกรรมที่อุทิศ ไปให้กับคนที่ตายโหง หรือ คนที่เสียชีวิตอย่างปัจจุบันทันด่วน แบบไม่ธรรมดาตามธรรมชาติ เช่น ถูกยิง จมน้ำ รถชน ฆ่าตัวตาย
โดยความเชื่อคือเมื่อตายไปกลัวว่าจะกลายเป็นผีที่มีวิญญาณเร่ร่อน จึงอุทิศตุงแดงเพื่อให้ดวงวิญญาณผู้ตายเกาะขึ้นสวรรค์พิธีกรรมการอุทิศตุงแดงนั้นส่วนมากจะอุทิศตุงแดงให้กับผู้ล่วงลับหลังจากเผาศพแล้ว 1-2 วัน หรือในช่วงที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลอยู่ โดยมีเครื่องประพิธีกรรมดังนี้ ตุงแดง แขวนบนไม้รวก 1 อัน นำไปปักที่บริเวณที่ ที่คนนั้นตาย เพื่อให้ผู้ตายเกาะ หรือใช้เป็นบันไดไต่ขึ้นไปบนสวรรค์ เจดีย์ทรายกองใหญ่ 1 กอง เจดีย์กองน้อน 100 กอง พร้อมทั้งช่อหน้อยตุงชัย (ตุงขาวรูปสามเหลี่ยมอันเล็กๆ) เทียนสำหรับปักบนเจดีย์ทราย และด้ายสายสิญจน์ เครื่องอัฐบริขารต่างๆ เช่น อาหารคาวหวาน ข้าวสาร กล้วย อ้อย มะพร้าวเป็นต้น และไก่ขาว 1 ตัว
โดยขั้นตอนการปักตุงแดงนั้นมีดังนี้ นำเครื่องพิธีกรรมต่างๆ ไปบริเวณผู้เสียชีวิต ทำกองทราย กองใหญ่ 1 กอง กองเล็ก 100 กอง ปักเทียน ปักช่อหน้อยตุงชัย บนกองทราย ปักตุงแดงบริเวณคนนั้นเสียชีวิต อาจารย์วัด จะกล่าวคำถวายตุงแดงและเครื่องอัฐบริขาร มีพระสงฆ์จำนวน 4 รูป หรือ 1 รูป แล้วแต่ว่าเจ้าภาพจะนิมนต์สวด และประพรมน้ำมนต์ ทำ พิธีฝังไก่ขาวโดยขุดหลุมไกล้ๆ บริเวณตุงแดง นิมนต์พระสงฆ์กล่าวคำขอไถ่ถอนดวงวิญญาณผู้ตายให้ขึ้นสวรรค์หลุดพ้นจากการ เป็นวิญญาฯเร่ร่อน โดยได้นำไก่ขาวมาฝัง เพื่อขอไถ่วิญญาณ เป็นอันเสร็จพิธี
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
“คะลำ” ความเชื่อ ที่สืบทอดกันมาของชาว อีสาน จารีตประเพณีสืบทอดกันมา
20 แบบ พานบายศรี พานไหว้ครูสวยๆ งานฝีมือชั้นสูงสำหรับใช้ในพิธีมงคล
มโนราห์ ประวัติและตำนาน วัฒนธรรมพื้นบ้านจากภาคใต้ของประเทศไทย